Capacitor Bank ยี่ห้อไหนดี?

คาปาซิเตอร์กำลังในระบบไฟฟ้าแรงต่ำที่ใช้และมีจำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน นั้น สามารถแบ่งได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ

  1. แบ่งตามการระบายความร้อน

1.1 ระบายความร้อนด้วยอากาศ (Dry Type)

1.2 ระบายความร้อนด้วยน้ำมัน (Oil Type)

2. แบ่งตามลักษณะพื้นที่ติดตั้ง

2.1 ติดตั้งภายในอาคาร (Indoor Type)

2.2 ติดตั้งภายนอกอาคาร (Outdoor Type)

3. แบ่งตามรูปทรงตัวถัง

3.1 ทรงกระบอก (Cylindrical Shape)

3.2 ทรงสี่เหลี่ยม (Box Shape)

อื่น ๆ อาจแบ่งได้ตามชนิดของวัสดุฉนวนที่ใช้

ปัจจุบันมีความนิยมใช้คาปาซิเตอร์ทรงกระบอกที่ระบายความร้อนด้วยอากาศ ติดตั้งภายในอาคาร (Indoor Type, Naturally air cooled or forced air cooling) เพิ่มมากขึ้น เนื่องจาก มีขนาดเล็กน้ำหนักไม่มาก ทำให้ประหยัดพื้นที่ติดตั้ง และราคาต่ำกว่าแบบน้ำมัน โดยโครงสร้างภายในประกอบด้วยม้วนแผ่นฟอยล์ตัวนำบางๆเคลือบฉนวน (Polypropylene film) พันเป็นม้วนตามค่าความจุที่กำหนด วางซ้อนกัน 3 ชุด บรรจุอยู่ในกระบอกอลูมิเนียม (Extruded round aluminum can with stud) และต่อขึ้นขั้วเทอมินอลด้านบนแบบเดลต้า (Three-phase, delta conected)สำหรับการใช้งานในระบบ 3 เฟส มีตัวต้านทานต่อคร่อมที่ขั้วอาจจะต่ออยู่ภายในหรือภายนอกสำหรับช่วยคายประจุเมื่อปลดแหล่งจ่ายไฟฟ้า ให้เหลือค่าแรงดันตกค้างไม่เกิน 75V ภายใน 3 นาที ตามมาตรฐาน IEC ส่วนด้านใต้ตัวถังเป็นสตัดสำหรับยืดกับเพลทวางและต่อสายกราวด์ระบบ

เทคโนโลยีที่ใช้เป็นแบบ Self-healing คือ การทำปฏิกิริยาของฉนวนในการซ่อมแซมจุดที่เสียหายด้วยตัวเองส่วน

ระบบความปลอดภัย (Safety system) ส่วนใหญ่จะใช้ฟิวส์ภายในต่อระหว่างขั้วที่ฝากับตัวโมดูลภายใน ทั้ง 3เฟสเมื่อเกิดความร้อนหรือช็อตเซอร์กิตภายในจะทำให้เกิดแรงดัน ดันฝากระบอกให้โก่งตัวขึ้นจนฟิวส์ภายในตัดจงจรไฟฟ้า

แบบทรงกระบอกอลูมิเนียมที่ระบายความร้อนด้วยอากาศนี้ มีให้เลือกหลากหลายยี่ห้อ อาทิเช่น PTES, Epcos, Franke, Ducati, Electronicon, Circutor, RTR, Frako, Schneider, Samwha…

แบบทรงกล่องเหล็กสี่เหลี่ยมที่ระบายความร้อนด้วยอากาศ เช่น ABB, Schneider, Nokien, Precise…

แบบทรงกล่องเหล็กสี่เหลี่ยมที่ระบายความร้อนด้วยน้ำมัน เช่น PTES, Shuzuki, Samwha…